วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2552

การคิดสังเคราะห์


















การคิดสังเคราะห์การคิดสังเคราะห์ หมายถึงความสามารถในการคิดที่ดึงองค์ประกอบต่าง ๆ มาหลอมรวมกันภายใต้โครงร่างใหม่อย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างไปจากเดิมการคิดสังเคราะห์ครอบคลุมถึงการค้นคว้า รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะคิดซึ่งมีมากหรือกระจายกันอยู่มาหลอมรวมกัน คนที่คิดสังเคราะห์ได้เร็วกว่าย่อมได้เปรียบกว่าคนที่สังเคราะห์ไม่ได้ ซึ่งจะทำให้เข้าใจและเห็นภาพรวมของสิ่งนั้นได้มากกว่าประเภทการคิดสังเคราะห์การคิดสังเคราะห์แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ- การคิดสังเคราะห์เพื่อสร้างสิ่งใหม่ เช่น ประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ อุปกรณ์ต่าง ๆ ตามต้องการ- การคิดสังเคราะห์เพื่อสร้างแนวคิดใหม่ เป็นการพัฒนาและคิดค้นแนวคิดใหม่ ถ้าเราสามารถคิดสังเคราะห์ได้ดี จะทำให้พัฒนาความคิดหรือสิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมความสำคัญของการคิดสังเคราะห์การคิดสังเคราะห์มีความสำคัญอย่างมากในกระบวนการคิด เนื่องจากช่วยจัดระบบข้อมูลให้มีความชัดเจนในประเด็นและเป็นระเบียบมากขึ้น ทำให้มีข้อมูลที่จำเป็นครบถ้วน ซึ่งมีความสำคัญดังนี้
1. ช่วยให้หาทางออกของปัญหาโดยไม่ต้องเริ่มจากศูนย์ เราสามารถนำสิ่งที่คนอื่นคิดหรือปฏิบัติมาแล้วมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งที่เกี่ยวข้องโดยตรงและโดยอ้อม นำมาผสมผสานกันเป็นทางออกในการแก้ปัญหา
2. ช่วยให้มีความเข้าใจที่คมชัดและครบถ้วนเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ แต่เดิมเรามักจะหาทางออกของปัญหาโดยการเลียนแบบหรือลองผิดลองถูก ทางที่ดีกว่าและปลอดภัยกว่าคือการใช้การคิดสังเคราะห์เข้ามาช่วยสรุปความรู้ที่กระจัดกระจาย ให้เข้าใจเรื่องได้คมชัดและครบถ้วน
3. ช่วยขยายขอบเขตความสามารถของสมองในการพยายามสืบเสาะแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งต่าง ๆ ภายนอกนำมาสังเคราะห์เข้าด้วยกันเพื่อได้แนวทางแก้ปัญหาที่มีความสมบูรณ์ครบถ้วน สามารถนำมาใช้ได้จริง และประสบความสำเร็จ
4. ข้อมูลที่สังเคราะห์จะเป็นประโยชน์ในการคิดต่อยอดความรู้ ทำให้ไม่เสียเวลาเริ่มต้นใหม่ คิดต่อยอดได้ทันที นำไปสู่การพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ ที่มีประโยชน์
5. ช่วยให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ เพราะมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่องจากการสร้างสรรค์ที่ไม่หยุดยั้งของมนุษย์
ขั้นตอนการคิดสังเคราะห์
1. กำหนดวัตถุประสงค์ของสิ่งใหม่ที่ต้องการสร้างหรือสังเคราะห์ขึ้น
2. ศึกษาส่วนประกอบหรือวิเคราะห์ข้อมูลที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
3. เลือกและนำข้อมูลที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์มาจัดทำกรอบแนวคิดสำหรับสร้างสิ่งใหม่
4. สร้างสิ่งใหม่ตามวัตถุประสงค์และกรอบแนวคิดที่กำหนดโดยการผสมผสานส่วนประกอบ/ข้อมูลที่เลือกรวมทั้งข้อมูลอื่น ๆ ตามความเหมาะสมและความจำเป็น
5. ตรวจสอบความถูกต้อง เหมาะสม ปรับปรุงแก้ไข และนำไปใช้ประโยชน์
ตัวบ่งชี้การคิดสังเคราะห์
1. สามารถกำหนดวัตถุประสงค์ของสิ่งใหม่ที่ต้องการสังเคราะห์
2. สามารถวิเคราะห์ส่วนประกอบหรือข้อมูลที่ต้องการสังเคราะห์
3. สามารถเลือกข้อมูลที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการสังเคราะห์
4. สามารถสร้างกรอบแนวคิดตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด
5. สามารถสร้างสิ่งใหม่ได้ตามวัตถุประสงค์และกรอบแนวคิดที่กำหนด
6. สามารถตรวจสอบความถูกต้องตามหลักเกณฑ์ได้อย่างตรงประเด็น
7. สามารถนำสิ่งที่สังเคราะห์ไปใช้ประโยชน์ได้
ตัวอย่างคำถามหรือคำสั่งที่ต้องใช้การคิดสังเคราะห์
· จากที่เรียนมาแล้วเกี่ยวกับ "เสือไม่ทิ้งลาย" ให้นักเรียนวาดภาพที่แสดงความสอดคล้องกับข้อความดังกล่าว
· เขียนสรุปสาระสำคัญของสิ่งที่เรียนเป็นแผนผังความคิด
· ให้ร่วมกันจัดทำโครงงานจากเรื่องที่เรียนมาแล้ว 1 เรื่อง
· จากเนื้อหาที่เรียน นักเรียนคิดว่าควรปฏิบัติตามใคร เพราะเหตุใด
· ให้ออกแบบสิ่งของต่าง ๆ จากวัสดุที่มีอยู่
· ให้แต่งคำประพันธ์ บทกลอน โคลง ที่เกี่ยวกับเรื่องที่เรียน
· ให้ประดิษฐ์สิ่งของจากวัสดุธรรมชาติให้ใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด
การพัฒนานักคิดสังเคราะห์การคิดสังเคราะห์เป็นสิ่งที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ และสามารถส่งเสริมได้โดยฝึกดังนี้
1. ไม่พอใจสิ่งเดิม ชอบถามหาสิ่งใหม่ ชอบแสวงหา ชอบการเปลี่ยนแปลง
2. ไม่นิ่งเฉย ชอบสะสมข้อมูล ทำให้มีวัตถุดิบทางความคิดมากเพียงพอที่จะนำไปใช้ในการสังเคราะห์สิ่งต่าง ๆ
3. มีความเข้าใจและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ นำมาเชื่อมโยงอย่างสมเหตุและสมผล
4. ไม่แปลกแยก ชอบผสมผสาน การผสมผสานองค์ประกอบหรือความคิดที่ดูเหมือนขัดแย้งกันเข้าด้วยกัน โดยผสมผสานอย่างกลมเกลียว และเชื่อมโยงอย่างสมเหตุสมผล
5. ไม่คลุมเครือ ชอบความคมชัดในประเด็น เข้าใจว่าแนวความคิดหนึ่งประกอบด้วยประเด็นหลักหรือประเด็นรองอะไรบ้าง ฝึกจับประเด็นบทความ หนังสือ หนังสือพิมพ์
6. ไม่ลำเอียง ชอบวางตนเป็นกลาง ไม่อคติต่อข้อมูลที่ได้ ต้องแยกความรู้สึกออกจากข้อเท็จจริง
7. ไม่ยุ่งเหยิง ชอบระบบระเบียบ
8. ไม่ท้อถอย มีความมานะพากเพียร





การคิดสังเคราะห์

การคิดสังเคราะห์การคิดสังเคราะห์ หมายถึงความสามารถในการคิดที่ดึงองค์ประกอบต่าง ๆ มาหลอมรวมกันภายใต้โครงร่างใหม่อย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างไปจากเดิมการคิดสังเคราะห์ครอบคลุมถึงการค้นคว้า รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะคิดซึ่งมีมากหรือกระจายกันอยู่มาหลอมรวมกัน คนที่คิดสังเคราะห์ได้เร็วกว่าย่อมได้เปรียบกว่าคนที่สังเคราะห์ไม่ได้ ซึ่งจะทำให้เข้าใจและเห็นภาพรวมของสิ่งนั้นได้มากกว่าประเภทการคิดสังเคราะห์การคิดสังเคราะห์แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ- การคิดสังเคราะห์เพื่อสร้างสิ่งใหม่ เช่น ประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ อุปกรณ์ต่าง ๆ ตามต้องการ- การคิดสังเคราะห์เพื่อสร้างแนวคิดใหม่ เป็นการพัฒนาและคิดค้นแนวคิดใหม่ ถ้าเราสามารถคิดสังเคราะห์ได้ดี จะทำให้พัฒนาความคิดหรือสิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมความสำคัญของการคิดสังเคราะห์การคิดสังเคราะห์มีความสำคัญอย่างมากในกระบวนการคิด เนื่องจากช่วยจัดระบบข้อมูลให้มีความชัดเจนในประเด็นและเป็นระเบียบมากขึ้น ทำให้มีข้อมูลที่จำเป็นครบถ้วน ซึ่งมีความสำคัญดังนี้
1. ช่วยให้หาทางออกของปัญหาโดยไม่ต้องเริ่มจากศูนย์ เราสามารถนำสิ่งที่คนอื่นคิดหรือปฏิบัติมาแล้วมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งที่เกี่ยวข้องโดยตรงและโดยอ้อม นำมาผสมผสานกันเป็นทางออกในการแก้ปัญหา
2. ช่วยให้มีความเข้าใจที่คมชัดและครบถ้วนเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ แต่เดิมเรามักจะหาทางออกของปัญหาโดยการเลียนแบบหรือลองผิดลองถูก ทางที่ดีกว่าและปลอดภัยกว่าคือการใช้การคิดสังเคราะห์เข้ามาช่วยสรุปความรู้ที่กระจัดกระจาย ให้เข้าใจเรื่องได้คมชัดและครบถ้วน
3. ช่วยขยายขอบเขตความสามารถของสมองในการพยายามสืบเสาะแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งต่าง ๆ ภายนอกนำมาสังเคราะห์เข้าด้วยกันเพื่อได้แนวทางแก้ปัญหาที่มีความสมบูรณ์ครบถ้วน สามารถนำมาใช้ได้จริง และประสบความสำเร็จ
4. ข้อมูลที่สังเคราะห์จะเป็นประโยชน์ในการคิดต่อยอดความรู้ ทำให้ไม่เสียเวลาเริ่มต้นใหม่ คิดต่อยอดได้ทันที นำไปสู่การพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ ที่มีประโยชน์
5. ช่วยให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ เพราะมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่องจากการสร้างสรรค์ที่ไม่หยุดยั้งของมนุษย์
ขั้นตอนการคิดสังเคราะห์
1. กำหนดวัตถุประสงค์ของสิ่งใหม่ที่ต้องการสร้างหรือสังเคราะห์ขึ้น
2. ศึกษาส่วนประกอบหรือวิเคราะห์ข้อมูลที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
3. เลือกและนำข้อมูลที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์มาจัดทำกรอบแนวคิดสำหรับสร้างสิ่งใหม่
4. สร้างสิ่งใหม่ตามวัตถุประสงค์และกรอบแนวคิดที่กำหนดโดยการผสมผสานส่วนประกอบ/ข้อมูลที่เลือกรวมทั้งข้อมูลอื่น ๆ ตามความเหมาะสมและความจำเป็น
5. ตรวจสอบความถูกต้อง เหมาะสม ปรับปรุงแก้ไข และนำไปใช้ประโยชน์
ตัวบ่งชี้การคิดสังเคราะห์
1. สามารถกำหนดวัตถุประสงค์ของสิ่งใหม่ที่ต้องการสังเคราะห์
2. สามารถวิเคราะห์ส่วนประกอบหรือข้อมูลที่ต้องการสังเคราะห์
3. สามารถเลือกข้อมูลที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการสังเคราะห์
4. สามารถสร้างกรอบแนวคิดตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด
5. สามารถสร้างสิ่งใหม่ได้ตามวัตถุประสงค์และกรอบแนวคิดที่กำหนด
6. สามารถตรวจสอบความถูกต้องตามหลักเกณฑ์ได้อย่างตรงประเด็น
7. สามารถนำสิ่งที่สังเคราะห์ไปใช้ประโยชน์ได้
ตัวอย่างคำถามหรือคำสั่งที่ต้องใช้การคิดสังเคราะห์
· จากที่เรียนมาแล้วเกี่ยวกับ "เสือไม่ทิ้งลาย" ให้นักเรียนวาดภาพที่แสดงความสอดคล้องกับข้อความดังกล่าว
· เขียนสรุปสาระสำคัญของสิ่งที่เรียนเป็นแผนผังความคิด
· ให้ร่วมกันจัดทำโครงงานจากเรื่องที่เรียนมาแล้ว 1 เรื่อง
· จากเนื้อหาที่เรียน นักเรียนคิดว่าควรปฏิบัติตามใคร เพราะเหตุใด
· ให้ออกแบบสิ่งของต่าง ๆ จากวัสดุที่มีอยู่
· ให้แต่งคำประพันธ์ บทกลอน โคลง ที่เกี่ยวกับเรื่องที่เรียน
· ให้ประดิษฐ์สิ่งของจากวัสดุธรรมชาติให้ใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด
การพัฒนานักคิดสังเคราะห์การคิดสังเคราะห์เป็นสิ่งที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ และสามารถส่งเสริมได้โดยฝึกดังนี้
1. ไม่พอใจสิ่งเดิม ชอบถามหาสิ่งใหม่ ชอบแสวงหา ชอบการเปลี่ยนแปลง
2. ไม่นิ่งเฉย ชอบสะสมข้อมูล ทำให้มีวัตถุดิบทางความคิดมากเพียงพอที่จะนำไปใช้ในการสังเคราะห์สิ่งต่าง ๆ
3. มีความเข้าใจและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ นำมาเชื่อมโยงอย่างสมเหตุและสมผล
4. ไม่แปลกแยก ชอบผสมผสาน การผสมผสานองค์ประกอบหรือความคิดที่ดูเหมือนขัดแย้งกันเข้าด้วยกัน โดยผสมผสานอย่างกลมเกลียว และเชื่อมโยงอย่างสมเหตุสมผล
5. ไม่คลุมเครือ ชอบความคมชัดในประเด็น เข้าใจว่าแนวความคิดหนึ่งประกอบด้วยประเด็นหลักหรือประเด็นรองอะไรบ้าง ฝึกจับประเด็นบทความ หนังสือ หนังสือพิมพ์
6. ไม่ลำเอียง ชอบวางตนเป็นกลาง ไม่อคติต่อข้อมูลที่ได้ ต้องแยกความรู้สึกออกจากข้อเท็จจริง
7. ไม่ยุ่งเหยิง ชอบระบบระเบียบ
8. ไม่ท้อถอย มีความมานะพากเพียร

วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2552

โรงเรียนบ้านนามูลตุ่น







บทที่ 1 ข้อมูลพื้นฐาน

1. ข้อมูลทั่วไป
ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนบ้านนามูลตุ่น ตั้งอยู่เลขที่ 140 ตำบลห้วยสีเสียด
อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย รหัสไปรษณีย์ 42230 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 2
เปิดสอนตั้งแต่ระดับปฐมวัย ถึงระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(อนุบาล 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 3)
เขตพื้นที่บริการ 4 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ที่ 5 บ้านนามูลตุ่น
หมู่ที่ 6 บ้านนาเจริญ
หมู่ที่ 7 บ้านใหม่ศรีชมภู
หมู่ที่ 8 บ้านนาหนองทุ่ม
2. ข้อมูลด้านการบริหาร
2.1 ชื่อ-สกุลผู้บริหาร นายศรีสมุทร กัลป์ชัย วุฒิการศึกษาสูงสุดปริญญาการศึกษาบัณฑิต วิชาเอก สาขาฟิสิกส์ วิชาโท คณิตศาสตร์ และประกาศนียบัตรบัณฑิตบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย
ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ที่โรงเรียนนี้ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2530 และในวันที่ 30 มีนาคม2540 ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านนามูลตุ่น จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 22 ปี 3เดือน
2.2 ประวัติโดยย่อ คำขวัญ และวัตถุประสงค์เฉพาะของสถานศึกษา
ประวัติโดยย่อโรงเรียนบ้านนามูลตุ่น
โรงเรียนบ้านนามูลตุ่น เดิมชื่อโรงเรียนประชาบาล ตำบลหนองหอย 2 สังกัดตำบลหนองหอย เดิมเป็นโรงเรียนที่นายอำเภอจัดตั้งขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2483 เปิดโรงเรียนครั้งแรกที่วัดศรีจำปา โดยมีนายนิล เสาวดี เป็นครูใหญ่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2495 นายเรียบ สุวรรณภู และนายจำเนียร เป็นสุข พร้อมด้วยราษฎรได้ร่วมมือกันสร้างอาคารชั่วคราวขึ้น ในที่ดินของโรงเรียน ค่าก่อสร้าง 708 บาท จากนั้นได้ย้ายจากวัดมาโรงเรียนวันที่ 17 พ.ค. 2495 เป็นวันแรก
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2500 คณะครูมี นายเรียบ สุวรรณภู ครูใหญ่ นายจำเนียร เป็นสุข นายเล็ก พลวิเศษ พร้อมราษฎรได้ร่วมมือกันสร้างอาคารถาวร ตามแบบ ป.1 ขึ้น เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2502 จำนวน 2 ห้องเรียน ในการนี้คณะครู ผู้ใหญ่บ้าน ราษฎร ได้เสียสละเงินส่วนตัว 3,222 บาท และทางราชการได้มี
นายศักดิ์ วิวัฒนปทุม ขอเงินจากทางราชการสมทบอีก 20,000 บาท
ใน พ.ศ. 2505 ทางการได้ให้เงินสมทบอีก 1.300 บาท โดยมีนายเรียบ สุวรรณภู นายเล็ก พลวิเศษ และนายแว่น หมอยา ได้จัดทำประตู หน้าต่าง เป็นที่เรียบร้อย เป็นแบบอาคารถาวร ต่อมาโรงเรียนแห่งนี้ จึงได้ขื่อว่า โรงเรียนบ้านนามูลตุ่น เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2505 เป็นต้นมา
ปี พ.ศ. 2500 – 2519 นายเรียบ สุวรรณภู ดำรงตำแหน่งครูใหญ่
ปี พ.ศ. 2519 – 2527 นายเล็ก พลวิเศษ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่
ปี พ.ศ. 2527 – 2530 นายสุธรรม สิงห์สถิต ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
ปี พ.ศ. 2530 – 2540 นายศรีสมุทร กัลป์ชัย ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
ปี พ.ศ. 2540 - ปัจจุบัน นายศรีสมุทร กัลป์ชัย ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
เขตบริการของโรงเรียน โรงเรียนบ้านนามูลตุ่นให้บริการการศึกษาให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ 4 หมู่บ้าน คือ
1. บ้านนามูลตุ่น หมู่ที่ 5 ต. ห้วยสีเสียด อ. ภูหลวง จ. เลย
2. บ้านนาเจริญ หมู่ที่ 6 ต. ห้วยสีเสียด อ. ภูหลวง จ. เลย2
3. บ้านใหม่สีชมภู หมู่ที่ 7 ต. ห้วยสีเสียด อ. ภูหลวง จ. เลย
4. บ้านนาหนองทุ่ม หมู่ที่ 8 ต. ห้วยสีเสียด อ. ภูหลวง จ. เลย
สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่เลขที่ 140 หมู่ 6 บ้านนาเจริญ ตำบลห้วยสีเสียด อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย
รหัสไปรษณีย์ 42230
เนื้อที่ 14 ไร่ 3 งาน 6.4 ตารางวา กรรมสิทธิ์ในการถือครอง เป็นที่ราชพัสดุ

ปรัชญาของโรงเรียน คือ นัตถิ ปัญญา สมา อาภา หมายถึง แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา ไม่มี
สีประจำโรงเรียน คือ สีน้ำเงิน - ขาว
คำขวัญโรงเรียน คือ เรียนดี มีวินัย ใฝ่ศึกษา รู้ค่างาน